การใช้มัลติมีเดียบนเว็บเพจ
1.แทรก Flash ลงในเว็บเพจ
การแทรกไฟล์ Flash ลงในเว็บเพจ
1.เปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมา และทำการ save ให้เรียบร้อย หรือเปิดไฟล์ที่ save ไว้เรียบร้อยแล้ว
2.ไปที่ Common และเลือกเครื่องมือดังรูป หรือไปที่ Insert > Media > Flash
3.เมื่อคลิกที่ flash แล้วจะมีหน้าต่างดังรูป
เลือกไฟล์ Flash ที่ต้องการจะแทรก จากนั้นคลิก OK
4.เมื่อเราคลิกที่ไฟล์ Flash ที่แทรกไปจะพบว่า Property inspector เปลี่ยนไปดังรูป
มีรายละเอียดดังนี้
1.ช่องแรกสุดทางซ้ายมือ สำหรับใส่ชื่ออ้างอิงให้กับไฟล์ที่เราแทรกลงไป
2.W (Width) กำหนดความกว้างที่ใช้แสดงผลของ flash
3.H (Height) กำหนดความสูงที่ใช้แสดงผลของ flash
4.File ช่องนี้จะแสดงค่าตำแหน่งที่เราบันทึกไฟล์ flash เอาไว้ไม่ต้องแก้ไขอะไรทั้งสิ้น
5.Src (Source) ให้เราระบุตำแหน่งที่เราเก็บไฟล์ต้นฉบับที่สามารถแก้ไขได้ .fla เอาไว้
6.Edit ใช้สำหรับแก้ไขไฟล์ flash (.swf) โดยจะเรียกโปรแกรม Adobe Flash ขึ้นมา โดยจะอ้างอิงจากช่อง Src (Source) ที่เราได้บอกตำแหน่งไฟล์ .swf ไว้
7.Reset Size เราสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดของไฟล์ Flash ได้โดยคลิกที่มุมของไฟล์ แล้วลากจะขยาย หรือย่อก็ได้ ถ้าต้องการให้ขยายในอัตตราส่วนเท่าเดิมก็ให้กด Shift ค้างไว้ เมื่อเราต้องการให้ขนาดกลับมาเหมือนเดิมก็ให้คลิกที่ปุ่มนี้
8.Class กำหนด Style Sheet ให้กับไฟล์นี้
9.Loop เมื่อเลือกช่องนี้ไฟล์ Flash จะเล่นซ้ำไปซ้ำมา ถ้าเราไม่ได้เลือกจะแสดงเพียงครั้งเดียวแล้วหยุดไป
10.Autoplay ถ้าเลือกช่องนี้ Flash จะแสดงผลเองอัตโนมัติเมื่อโหลดไฟล์เรียบร้อย ถ้าไม่เลือกการแสดงผลจะขึ้นอยู่กับ behavior (เช่น onMouseOver , onMouseDown) ที่เราได้กำหนดไว้ให้กับไฟล์นั้น
11.V Space (Vertical Space) กำหนดระยะห่างระหว่างไฟล์ flash กับวัตถุอื่นในเว็บเพจในตำแหน่งบนและล่าง
12.H Space (Horizontal Space) กำหนดระยะห่างระหว่างไฟล์ flash กับวัตถุอื่นในเว็บเพจในตำแหน่งซ้ายและขวา
13.Quality ตัวเลือกนี้จะทำให้เราสามารถจัดการกับ anti-aliasing คือการกำหนดคุณภาพของ flash โดยถ้าเราเปิด anti-aliasing จะทำให้ flash แสดงผลได้ดี ภาพสวยขึ้น แต่ความเร็วของการเล่นไฟล์ flash จะช้าลง สมมุติว่าเราใส่รูปคนวิ่งลงไป เมื่อเปิด anti-aliasing จะทำให้รูปสวยขึ้น แต่คนจะวิ่งได้ช้าลง โดยจะมีตัวเลือกดังนี้
Low ปิดการใช้ anti-aliasing เราจะเลือกตัวเลือกนี้เมื่อ ความเร็วของการเล่นไฟล์ สำคัญกว่าความสวยงาม
High เปิดการใช้ anti-aliasing เราจะเลือกตัวเลือกนี้เมื่อ ความเร็วของการเล่นไฟล์ สำคัญน้อยกว่าความสวยงาม
Auto High คำสั่งนี้จะเปิด anti-aliasing ก่อน เมื่อความเร็วของการเล่นไฟล์ช้าลงมาก ก็จะทำการปิด anti-aliasing ให้ความสำคัญความสวยงามมากว่าความเร็ว
Auto Low คำสั่งนี้จะเริ่มต้นด้วยการปิด anti-aliasing ก่อน จะเปิดก็ต่อเมื่อเครื่อง CPU ของเครื่องผู้ใช้งานสามารถประมวลผลได้โดยไม่ทำให้ความเร็วของการเล่นไฟล์ลดลง ก็จะเปิด anti-aliasing ให้ความสำคัญความเร็วมากว่าความสวยงาม
14.Scale เราจะใช้คำสั่งนี้เมื่อได้เปลี่ยนขนาดของ flash จากขนาดเดิมโดยไม่มีมาตราส่วน คำสั่งนี้จะเป็นการกำหนดการแสดงผลของ flash ในขนาดที่เรากำหนด
Default (Show All) แสดงผลตามมาตราส่วนปรกติ และจะแสดงผลทั้งหมดของไฟล์ เช่น ถ้าเราเปลี่ยนขนาดที่ผิดมาตราส่วนไป ตัวเลือกนี้จะปรับให้แสดงผลในมาตราส่วนที่สามารถแสดงได้เท่านั้น
No Border แสดงผลให้โดยใช้มาตราส่วนปรกติ แต่จะไม่แสดงผลส่วนที่เกินออกไป เช่นถ้าเราปรับมาตราส่วนผิดไป ตัวเลือกนี้จะปรับมาตราส่วนตามนั้น แต่ส่วนที่เกินออกไปขนาดที่เรากำหนด จะไม่แสดงผล
Exact Fit จะปรับการแสดงผลให้เท่ากับขนาดที่เรากำหนด
15.Align จัดตำแหน่งของไฟล์
16.Bg กำหนดพื้นหลังให้ไฟล์
17.Play button กำหนดให้แสดงผลไฟล์ flash ใน Dreamweaver ถ้าเรากด play จะทำให้เห็นไฟล์ flash แสดงผลใน Dreamweaver แต่ถ้าเราต้องการแก้ไขต้องกด stop ก่อน
18.Parameters กำหนดค่าตัวแปรให้กับ flash จะพูดถึงในบทอื่น
2. แทรกไฟล์ .FLV ยอดนิยม
ไฟล์ flv เปิดด้วยโปรแกรม Flash player โชคดีที่ Browser ส่วนใหญ่จะมี flash player ติดมาด้วย
เราสามารถแปลงจากไฟล์นามสกุลอื่นให้เป็น flv ได้โดยใช้โปรแกรม เช่น โปรแกรม Flash ก็สามารถแปลงได้ หรือในปัจจุบันนี้มีโปรแกรมมากมายที่ทำมาเพื่อรองรับส่วนนี้
การแทรกไฟล์ Flash video ในเว็บเพจ
1.เปิดไฟล์ใหม่ขึ้นมา และทำการ save ให้เรียบร้อย หรือเปิดไฟล์ที่ save ไว้เรียบร้อยแล้ว คลิกตำแหน่งที่ต้องการจะแทรก
2.ไปที่ Insert > Media > Flash video จะมีหน้าต่างดังรูป
มีรายละเอียดดังนี้
1.Video type ให้เลือกเป็น progressive จะแสดงผลเมื่อโหลดไฟล์เสร็จเท่านั้น ส่วนแบบ Streaming นั้นเป็นแบบที่สามารถโหลดไฟล์ไปพร้อมกับเล่นไฟล์ได้ แต่จะต้องติดต่อกับผู้ดูแล server ว่าได้เปิดบริการส่วน Streaming server ไว้หรือไม่
2.URL กำหนดตำแหน่งที่เก็บไฟล์ของเราโดยคลิกที่ Browse เพื่อกำหนดไฟล์ที่ต้องการแทรก
3.Skin เลือกรูปแบบของส่วนควบคุมการแสดงผลไฟล์วิดีโอ
4.height , width กำหนดความสูงให้กับไฟล์ flash ของเรา ตามปรกติถ้าเราไม่ใส่ Dreamweaver จะรู้ขนาดของไฟล์อยู่แล้ว
5.Auto play เล่นไฟล์อัตโนมัติเมื่อโหลดเสร็จ
6.Auto rewind เล่นซ้ำอัตโนมัติ
7.Prompt ถ้าเราเลือกช่องนี้ เมื่อผู้ใช้ไม่มี Flash player จะปรากฏข้อความในช่อง message
3. เล่นเพลงในเว็บเพจด้วย Plugin
สาหรับไฟล์เสียงที่จะนามาใส่ในเว็บเพจนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ ดังนี้
- .mid หรือ .midi เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก คุณภาพเสียงดีมาก แสดงได้ทุกเบราเซอร์โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริม (Plug-in)
- .wav เป็นไฟล์เสียงที่มีคุณภาพดี แสดงได้ทุกเบราเซอร์โดยไม่ต้องติดตั้วโปรแกรมเสริม แต่ไฟล์มีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าไฟล์ .mid
- .aif หรือ aiff คล้ายกับไฟล์ .wav คุณภาพดี แต่มีขนาดใหญ่ ใช้ได้กับทุกเบราว์เซอร์ ไม่ต้องใช้โปรแกรมเสียง
- .mp3 หรือ .mpeg เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก คุณภาพเสียงดีมาก สามารถฟังได้ทันทีโดยไม่ต้อดาวน์โหลดจนครบทั้งเพลง แต่ต้องติดตั้งโปรแกรมสาหรับเล่นเสียง อย่างเช่น Windows media Player หรือ Realplayer เป็นต้น
- .ra, .ram, .rpm หรือไฟล์ Real Audio เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพคล้ายกับไฟล์ .mp3 แต่ต้องติดตั้งโปรแกรม Real Player สาหรับการแสดงเสียง
1. วางเคอร์เซอร์ในตาแหน่งที่ต้องการวางแผงควบคุมการเล่นเสียง
2. เลือกคาสั่ง Plugin บนแท็บ Common ของ Insert Bar เพื่อแทรกไฟล์เสียงลงในเว็บเพจ
จากนั้นหน้าต่าง Select File จะปรากฏขึ้นมาให้เลือกไฟล์เสียงที่ต้องการแทรกในเว็บเพจ
3. คลิกเลือกไฟล์เสียงที่ต้องการแทรก แล้วคลิกปุ่ม OK
4. กาหนดขนาด Windows Media Player ที่ใช้เล่นบนเว็บเพจที่ช่อง W (ความกว้าง) และ H (ความสูง) ซึ่งสามารถกาหนดขนาดได้
5. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะแสดงไอคอนของไฟล์ ดังรูป สามารถทดลองเล่นไฟล์เสียงได้ โดยคลิกปุ่ม Play บน Properties Inspector
4. ปรับแต่งการเล่นไฟล์เสียง
ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งการเล่นไฟล์เสียงได้ เช่น ซ่อมแผงควบคุมการเล่นเสียง หรือ กำหนดจำนวนรอบในการเล่นเสียง เป็นต้น
ซึ่งสามารถปรับแต่งการเล่นเสียงได้โดยคลิกปุ่ม Parameters... บน Properties Inspector จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Parameters ขึ้นมาเพื่อให้กำหนดค่า Parameters และ Value ตามต้อง เมื่อกำหนดเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม Ok
โดยสามารถเลือกกำหนดค่า Parameters และ Value ได้ดังนี้
Parameters Valus ความหมาย
True ซ่อนแผงควบคุมการเล่นเสียง
Hidden
False แสดงแผงควบคุมการเล่นเสียง
True วนเล่นเสียงไปเรื่อยๆ
LoopFalse เล่นเสียงแค่รอบเดียว
Volume 0 - 100 ความดังของเสียง
Playcount ตัวเลข จำนวนรอบในการเล่น
True เล่นเสียงทันทีเมื่อเว็บเพจเปิดขึ้นมา
Autostart
False เล่นเสียงตามปกติแต่ไม่อัตโนมัติ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น